วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาการสึกหรอของยาง

                                                ปัญหาการสึกหรอของยาง
              ยางรถเป็นส่วนหนึ่งของระบบส่งกำลัง  ระบบบังคับเลี้ยว และระบบรองรับ  ซึ่งจากหน้าที่ที่มีส่วนร่วมที่สำคัญนี้จึงต้องรักษายางให้คงสภาพที่ดีอยู่เสมอ  เพราะฉะนั้นในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับยางในขั้นแรกนั้นจะต้องตรวจสอบสภาพของยางว่ามีการใช้งานที่ถูกต้องและบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่เสียก่อน
  ดังนั้นการสึกหรอของยางที่ผิดปกติจึงเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ยางสึกบริเวณไหล่ยางหรือตรงกลาง  สาเหตุหลักที่สำคัญนั้นเกิดจากการบกพร่องในการรักษาแรงดันลมยางให้ได้ตามค่าที่กำหนดไว้  ดังนั้นการเติมแรงดันลมยางให้อ่อนเกินไปจะทำให้บริเวณส่วนกลางของยางเว้าเข้าน้ำหนักของรถจะตกบริเวณไหล่ยาง  จึงเป็นสาเหตุให้บริเวณไหล่ยางทั้งสองข้างนั้นสึกเร็วกว่าบริเวณตรงกลาง
     แต่ในทางตรงกันข้าม  ถ้าเติมลมยางให้มากกว่าค่าที่กำหนดไว้  ผลที่ตามมานั้นจะทำให้บริเวณส่วนกลางของยางสึกหรอเร็วกว่าบริเวณไหล่ยางทั้งสองข้าง
2. ยางสึกจากการเลี้ยว  สภาพการสึกของดอกยางจะมีลักษณะทแยงมุม เป็นสาเหตุที่เกิดจากผู้ขับขี่นั้นเลี้ยวโค้งด้วยความเร็วที่สูงมาก  วิธีแก้ไขก็คือ ผู้ขับขี่ควรลดความเร็วลงในขณะที่เลี้ยวเข้าโค้ง
3. ดอกยางสึกเพียงด้านเดียว สาเหตุหลักนั้นเกิดจากมุมแคมเบอร์ผิด ทำให้พื้นที่สัมผัมถนนของยางต่างกันตามน้ำหนักที่กดลง  เช่น ถ้ายางมีมุมแคมเบอร์บวก  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางด้านนอกสั้นกว่าด้านในเป็นสาเหตุให้บริเวณพื้นดอกยางด้านนอกนั้นเกิดการลื่นไถลไปบนพื้นถนนทำให้ดอกยางด้านนอกสึกเร็วกว่าดอกยางด้านใน  ในทางตรงกันข้าม  ถ้าเป็นมุมแคมเบอร์ลบ  ก็จะทำให้ดอกยางด้านในนั้นสึกเร็วกว่าดอกยางด้านนอก
4. ดอกยางสึกคล้ายขนนก  สาเหตุหลักที่สำคัญนั้นเกิดจากการตั้งมุมโทผิด  เช่น ถ้าปรับตั้งมุมล้อเป็นมุมโทอินมากเกินไป  จะมีผลทำให้ยางเกิดการลื่นไถลออกและดึงให้ผิวหน้าสัมผัสของดอกยางกับพื้นถนนเข้าด้านใน ลักษณะการสึกของดอกยางจะมีรูปร่างคล้ายขนนกจากด้านในไปด้านนอก  และในทางตรงกันข้าม ถ้ามุมล้อถูกปรับให้เป็นมุมโทเอ๊าต์มากเกินไป ดอกยางก็จะสึกคล้ายขนนกเช่นกัน โดยจะสึกวิ่นตามแนวขวางจากด้านนอกไปยังด้านใน
5. ดอกยางสึกเป็นคลื่น  สาเหตุนั้นเกิดจากรถที่ใช้ดอกยางแบบลัก เช่น รถบัส ซึ่งเป็นผลมาจากการเบรค จึงทำให้ดอกยางมีรูปแบบที่คล้ายกับการสึกที่เกิดจากมุมโทเช่นกัน
6. การสึกของยางเป็นเบ้าคล้ายถ้วย  ลักษณะการสึกของยางนั้นเกิดจากการที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูงและลื่นไถลชั่วขณะ
7. การสึกของยางเป็นเบ้าตลอดทั้งเส้น  สาเหตุนั้นเกิดจากการชำรุดของลูกปืนล้อ  ลูกหมาก  คันส่ง หรือมีระยะฟรีมากเกินไป จึงทำให้เกิดการลื่นไถลเป็นจุดๆ
8. การสึกของดอกยางเป็นแนวยาว  สาเหตุเกิดจากการสึกของจานเบรคที่กระทำเป็นช่วงๆ จึงทำให้เกิดการสึกของยางเป็นแนวยาวกับพื้นที่สัมผัสของพื้นถนนในทิศทางแนวเส้นรอบวง การสึกหรอมีสาเหตุมาจากดรัมเบรคทำงานเป็นระยะๆ
9. การสึกของดอกยางเหมือนเส้นรองเท้า  ลักษณะการสึกเหมือนเส้นรองเท้า จะพบมากกับดอกยางแบบบล็อคและแบบลัก  สาเหตุนั้นมาจากการปรับตั้งมุมโทผิดและวิ่งบนถนนเรียบบ่อยครั้ง
10. ตัวถังรถสั่นเมื่อใช้ความเร็ว  สาเหตุหลักของการสั่นที่ตัวถังนั้นเกิดจากยางรถทุกเส้นไม่สมดุลกันหรือบิดเบี้ยวมากกว่าค่าที่กำหนด  อาการสั่นนี้จะเกิดขึ้นที่ระดับความเร็วตั้งแต่ 40 ถึง 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
11. พวงมาลัยเต้นหรือสะบัด  สาเหตุหลักที่สำคัญนั้นเกิดจากยางทุกเส้นไม่สมดุลหรือจากสาเหตุอื่นซึ่งได้แก่  ก้านต่อบังคับเลี้ยวชำรุดและศูนย์ล้อผิด
    ลักษณะของการเต้นหรือสะบัดของพวงมาลัยถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกันคือ
*  เกิดการสั่นตลอดเวลาตั้งแต่ความเร็วประมาณ  20 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจนถึงความเร็วที่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
* เกิดอาการที่เรียกว่า  สะบัด  ที่ความเร็วประมาณ 80 กิโลเมตรต่ิอชั่วโมง
                           แรงดันลมยาง  ( Inflation  Pressure ) 
             ยางรถยนต์จะต้องสูบลมให้ได้แรงดันลมตามที่กำหนดไว้  แต่ถ้ายางอ่อนเกินไป จะทำให้แก้มยางมีความยืดหยุ่นมาก  เกิดความร้อนสูง  ดอกยางสึก สมรรถนะในการขับขี่จะไม่ปลอดภัย  ดังนั้นแรงดันลมยางจึงต้องหมั่นตรวจสอบให้เป็นปกติ  และปรับให้ได้ค่าตามที่กำหนด  หรืออาจจำเป็นที่จะต้องเพิ่มหรือลดให้มีความแตกต่างจากแรงดันปกติก็ตาม
       ด้วยเหตุนี้การเติมลมยางให้มีแรงดันที่แตกต่างจากค่าที่กำหนดจะมีผลต่อยางดังนี้ ในกรณีแรงดันลมยางมากเกินไป  จะทำให้เกิดปัญหาดังนี้
- ความยากลำบากในการบังคับ
- ทำให้ดอกยางตรงกลางสึกหรอเร็วขึ้น
- ชั้นดอกยางจะแยกตัว  ซึ่งเป็นผลมาจากอุณหภูมิความร้อนจากความฝืด
- ชั้นผ้าใบเกิดการเสียหาย
    แรงดันลมยางต่ำเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้  คือ
- ขอบของดอกยางจะสึกมากเกินไป
- การบังคับเลี้ยวยาก
- ที่ความเร็งสูงยางจะยืดหยุ่นมาก  ทำให้มีอุณหภูมิความร้อนสูง เกิดคลื่นและระเบิด
- มีความฝืดสูง  ทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เครื่องควันดำ

                                                 เครื่องควันดำ
                  ควันดำ เหตุการแบบนี้คุณคงเคยเจออาจเกิดขึ้นกับรถของคุณเอง หรืออาจเคยเห็นของคนอื่นตามท้องถนนหรือตามที่ต่างๆ แล้วคุณสงสัยมั๊ยว่าเกิดจากอะไร
      ควันดำที่ว่านี้เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ที่ไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดควันดำและรถไม่มีกำลังสาเหตุเนื่องมาจากการที่ใช้รถเ็ป็นเวลานานไม่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง กรองเครื่อง กรองอากาศ จึงทำให้ประสิทธิภาพในการเผาไหม้ลดน้อยลง
    ดังนั้นถ้าเราต้องการที่จะให้รถสามารถใช้งานได้นานและเครื่องยนต์ทำงานสะดวกควรมีการตรวจเช็คสภาพรถอย่างสม่ำเสมอเพื่อยืดอายุการใช้งาน ถึงแม้ภายนอกรถอาจดูเก่าเพราะการใช้งานแต่เมื่อสภาพภายในของเครื่องมีการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอรถคันเก่าก็จะอยู่กับคุณอีกนานโดยไม่ต้องควักตังค์ในกระเป๋าไปซื้อคันใหม่
         คุณสามารถปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ 029958850 / 0865182510  หรือที่ http://www.pcnforklift.com
   

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การประกอบเครื่องยนต์ดีเซล

                            การประกอบเครื่องยนต์ดีเซล
    เครื่องยนต์ดีเซลภายในเครื่องยนต์นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง และมีขั้นตอนในการประกอบอย่างไร วันนี้เรามีขั้นตอนมาให้ท่านได้ดู ตัวเครื่องที่มีอุปกรณ์ มีอะไหล่มากมายนั้น ขั้้นตอนที่ผู้ผลิตประกอบมาให้เราใช้งานนั้นเป็นอย่างไร เริ่มต้นจากตรงไหน เราจะได้เห็นกัน

ทำไมเราต้องดูแลเครื่องยนต์

                                       ทำไมเราต้องดูแลเครื่องยนต์
        รถยนต์ทุกชนิดเมื่อมีการใช้งาน ก็ต้องมีการดูแลรักษาเพื่อที่จะให้เราสามารถใช้งานไปได้นานๆ ยิ่งถ้าเรามีการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ รถคุณเครื่องยนต์ของคุณก็จะอยู่กับคุณได้นานโดยไม่มีปัญหาจุกจิกกวนใจ
        ในที่นี้เราจะพูดถึงเรื่องของน้ำมันไฮดรอลิก ซึ่งรถที่เราใช้ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้น้ำมันไฮดรอลิก ส่วนใหญ่รถที่ใช้จะเป็นประเภท รถแบ๊คโฮ รถกระเช้า รถฟอร์คลิฟท์ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเราไม่ได้ใช้เราจึงไม่เห็นความสำคัญของมัน แต่เมื่อเราไม่ได้ใช้เรารู้ไว้ก็ไม่เสียหาย เพราะบางท่านอาจไม่ได้ใช้กับรถส่วนบุคคลของตัวเอง แต่อาจจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานที่เราทำอยู่ก็ได้
          ทำไมเราต้องดูแลควบคุมน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้สกปรก?
 นี่คือคำถามที่ดีมาก  ว่าเราจะควบคุมความสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิคไปทำไม ในเมื่อน้ำมันไฮดรอลิคเป็นแค่ตัวกลางในการส่งกำลังเท่านั้น  แล้วทำไมผู้ออกแบบและสร้างระบบไฮดรอลิคจึงบอกว่า  กว่า 75% ของระบบไฮดรอลิคที่เสียหายเกิดจากความสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิค
    ก่อนที่เราจะมาทำความเข้าใจว่าน้ำมันไฮดรอลิคที่สกปรก ส่งผลกระทบอย่างไรกับระบบไฮดรอลิคนั้น เราต้องเข้าใจในหน้าที่ของน้ำมันไฮดรอลิคเสียก่อนว่าน้ำมันไฮดรอลิคทำหน้าที่อะไร
      Task  of  Hydraulic  fluid  หน้าที่ของน้ำมันไฮดรอลิค  มี 4 ข้อคือ 
1  เป็นตัวกลางในการส่งถ่ายกำลัง
2  ระบายความร้อน
3  หล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบไฮดรอลิค
4  ป้องกันการรั่วซึมระหว่างช่องว่างของชิ้นส่วน
  จากหน้าที่ดังกล่าวจะเห็นว่าเมื่อน้ำมันไฮดรอลิคสกปรกจะส่งผลกระทบต่อหน้าที่ในการหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆของระบบไฮดรอลิคมากที่สุด นั่นคือจะส่งผลให้เกิดการสึกหรอในอัตราสูงเปรียบเสมือนการใช้กระดาษทรายขัดชิ้นส่วนต่างๆ ในระบบไฮดรอลิค เนื่องจากสิ่งสกปรกที่ปนอยู่กับน้ำมันจะเข้าไปอยู่ในช่องว่างของชิ้นส่วนที่เสียดสีกัน ซึ่งแต่เดิมจะมีฟิล์มน้ำมันกั้นอยู่ แต่ถ้าน้ำมันไอดรอลิคสกปรก จะมีสิ่งสกปรกแทรกอยู่ด้วยจึงเป็นเหมือนกระดาษทรายที่ขัดสีกับชิ้นส่วนที่เสียดสีกันนั่นเอง
    สิ่งสกปรกที่มีขนาดใหญ่กว่าหรือเล็กกว่าช่องว่างของชิ้นส่วนที่เสียดสีกัน จะไม่มีผลกระทบต่อการสึกหรอของชิ้นส่วนที่เสียดสีกัน แต่ถ้าสิ่งสกปรกมีขนาดใกล้เคียงกับช่องว่าง จะส่งผลกับชิ้นส่วนที่เสียดสีกันทำให้เกิดการกัดกร่อนและสึกหรอ ซึ่งจะทำให้มีสิ่งสกปรกเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากผิวของชิ้นส่วนที่ถูกกัดกร่อนทำปฎิกริยาแบบลูกโซ่ ส่งผลให้น้ำมันสกปรกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งชิ้นส่วนเกิดการสึกกร่อนและสึกหรอมากขึ้น
     นอกจากนี้สิ่งสกปรกขนาดเล็กกว่าช่องว่างอาจจะเกิดการสะสมในช่องว่างทำให้เกิดการติดขัดในชิ้นส่วนได้ เช่นการติดขัดของสพูลในวาล์วควบคุมทิศทาง
     จากปัญหาที่เกิดขึ้นเราสามารถสรุปผลจากสิ่งสกปรกในน้ำมันไฮดรอลิคต่อระบบไฮดรอลิคได้ดังนี้
-  ทำให้เกิดการสึกหรอสูง
-  เกิดการติดขัดของชิ้นส่วนต่างๆ
-  ทำให้น้ำมันเสื่อมสภาพเร็ว
-  ทำให้เกิดการอุดตันของ รู Orifice
  Source  of  Contamination  แหล่งที่มาของความสกปรก
ความสกปรกที่เกิดขึ้นอาจจะมาจากหลายสาเหตุซึ่งเราจะจำแนกออกมาดังนี้
1 ตกค้างอยู่ในอุปกรณ์  คือ  สิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆที่นำมาสร้างหรือซ่อมแซมระบบไฮดรอลิค
2 ขณะทำการซ่อมแซม  คือ ความสกปรกที่เกิดขึ้นจากการบริการ การซ่อม เช่นการตรวจสอบซ่อม หรือถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ในกรณีที่ทำงานในบริเวณที่สกปรก หรือไม่ปิดบริเวณข้อต่างๆที่ทำการถอดให้ดี ทำให้มีฝุ่นละอองหรือเศษอนุภาคต่างๆเข้าไปในระบบได้
3 ขณะระบบทำงานปกติ  คือ  ความสกปรกที่เกิดขึ้นภายในระบบไฮดรอลิคเอง  เช่น เกิดจากชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ไฮดรอลิค ซึ่งอาจเป็นผลจาก
- การสึกหรอ การกัดกร่อน  คาวิเทชั่น หรือ Oxidation
- Air breather  ไม่ได้ติดตั้งไส้กรองที่ละเอียดพอ หรือติดตั้งไส้กรองแต่ขาดการดูแล ทำให้อุดตันอากาศเข้าสู่ถังผ่านช่องทางอื่น  
- ก้านสูบของกระบอกสูบ  ฝุ่นหรืออนุภาคที่ละเอียดจะจับที่ก้านสูบขณะที่ก้านสูบเลื่อนออก และเมื่อก้านสูบเลื่อนกลับเข้ามาในกระบอกไฮดรอลิค จะนำฝุ่นหรืออนุภาคที่ละเอียดเข้ามาในกระบอกด้วย
4 การเติมน้ำมันใหม่ Adding with new oil  คือ น้ำมันไฮดรอลิคใหม่ๆ ที่เติมเข้าระบบไม่สะอาดพอ
       การกำจัดสิ่งสกปรกต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบไฮดรอลิค
   ชนิดของความสกปรกแบ่งออกเป็น  3  ชนิดคือ อนุภาคที่แข็งและคม   อนุภาคที่อ่อนนุ่มและเจล    สสารที่ละลายอยู่ในน้ำมันไฮดรอลิค
 อนุภาคที่แข็งและคม , อนุภาคที่อ่อนนุ่มและเจล   สามารถกำจัดออกไปจากระบบได้โดยให้น้ำมันไหลผ่านกรอง
 สสารที่ละลายอยู่ในน้ำมันไฮดรอลิค  ไม่สามารถกำจัดได้ด้วยการให้น้ำมันไหลผ่านกรอง แต่จะต้องทำการเปลี่ยนน้ำมันใหม่  หรือผ่านกรรมวิธีการพิเศษ
    หน้าที่ของกรองในระบบไฮดรอลิค
*  ป้องกันไม่ให้น้ำมันไอดรอลิคสกปรก  Return line filter& By pass filter
*  ป้องกันอุปกรณ์ที่ไวต่อความสกปรกของน้ำมัน  Pressure filter
*  ป้องกันสิ่งสกปรกจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาในระบบ  Air breather
*  ป้องกันการเสียหายอย่างรุนแรงของอุปกรณ์ไฮดรอลิค  Pressure filter & Suction filter
  การป้องกันความสกปรกเข้าสู่ระบบไฮดรอลิค
1 การเติมน้ำมันไฮดรอลิคเข้าไปในระบบ
     น้ำมันไฮดรอลิคที่ผลิตขึ้นโดยบริษัทต่างๆ มีความสะอาดเพียงพอที่จะนำมาใช้ในระบบไฮดรอลิคได้ทันที  แต่จากกระบวนการขนถ่าย  บรรจุ  รวมทั้งการจัดเก็บทำให้น้ำมันมีความสกปรกมากขึ้น ดังนั้นก่อนที่จะเติมน้ำมันไฮดรอลิคใหม่เข้าไป จะต้องกรองก่อน โดยความละเอียดของกรองจะต้องมีความละเอียดเท่ากับหรือมากกว่าความละเอียดของกรองใน
2  การ Flushing ระบบไฮดรอลิค
     ก่อนการ Start - up ระบบไฮดรอลิคครั้งแรก หรือมีการเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิค จะต้องทำการ Flushing ระบบไฮดรอลิคเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกต่างๆที่หลุดเข้ามาในระบบให้ออกไปจากระบบ
3  ซีลกันฝุ่นของกระบอกไฮดรอลิค
      ตรวจสอบซีลกันฝุ่นกระบอกไฮดรอลิคอย่างสม่ำเสมอ  กรณีที่กระบอกไฮดรอลิคติดตั้งใช้งานในบริเวณที่มีสิ่งสกปรกมากควรใช้ซีลปลอกเพื่อช่วยป้องกันก้านสูบสัมผัสกับสิ่งสกปรก
4 กรองอากาศ Air breather
     ตรวจสอบและทำความสะอาดการอุดตันของกรองอากาศอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง
5 กรองน้ำมันไฮดรอลิค
    กรองน้ำมันไฮดรอลิคควรมีเกจวัดการอุดตันของไส้กรอง ( ค่าความดันตกคร่อม ) และต้องทำการตรวจสอบอยู่เสมอรวมทั้งทำการเปลี่ยนไส้กรองทันทีเมื่อไส้กรองอุดตัน
6 การซีลอุปกรณ์
    ซีลปิดปลายท่อ  สายอ่อนและ Manifold block ขณะทำการซ่อมหรือถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ไฮดรอลิค
7 ระดับความสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิค
    สุ่มน้ำมันไปทำการตรวจสอบระดับความสกปรกของน้ำมันอยู่เสมอ และวิเคราะห์หาจุดบกพร่องรวมทั้งทำการแก้ไข เมื่อระดับความสกปรกของน้ำมันมีค่าเกินระดับที่ตั้งไว้




 
สึกหรอของชิ้นส่วนที่เสียดสีกันแต่ถ้าสิ่งสกปรกมีขนาดใกล้เคียงกับช่องว่าง